อย่างที่ทราบกันดีกว่า “สโตรก” นั้นเป็นภัยเงียบที่อยู่ภายในโดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดสโตรกหรือโรคหลอดเลือดสมองแตก ก็คือ ความดัน น้ำตาล และ ไขมัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผิดปรกติกับระบบหลอดเลือด โดยเฉพาะไขมัน ที่สามารถสะสมอยู่ตามหลอดเลือด ทำให้ขวางทางเดินของเลือด ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง และ ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้นั่นเอง วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ไขมัน และ คอเลสเตอรอล กันให้มากขึ้น เพื่อการป้องกันการเกิดสโตรกได้อย่างทันท่วงที ถ้าพร้อมแล้วเรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันได้เลย
คอเลสเตอรอลคืออะไร
คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง รวมถึงพบได้ในไขมันจากสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนประสอบสำคัญของเซลล์ต่างๆภายในร่างกาย ซึ่งควรควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่พอดี เพราะถ้าเกิดมีมากเกินไปก็เกิดการสะสมจะส่งผลให้เกิดผลเสียโดยเฉพาะกับระบบหลอดเลือด เราสามารถแบ่งคอเลสเตอรอลได้เป็น 2 ชนิดดังนี้
คอเลสเตอรอลที่ไม่ดี
หรือ LDL คอเลสเตอรอล (Low density lipoprotein-LDL) เป็นตัวกลางในการนำพาคอเลสเตอรอลไปยังหลอดเลือดแดง ยิ่งมีไขมันชนิดนี้สูงก็ยิ่งเสี่ยงที่ไขมันชนิดนี้จะแทรกซึมเข้าไปเกาะบริเวณผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบลงทำให้การไหลเวียนของเลือดติดขัด และนำไปสู่อาการหลอดเลือดตีบได้นั่นเอง ซึ่งสามารถพบเจอได้จาก ไขมันสัตว์ น้ำมัน มาการ์รีนเป็นต้น
คอเลสเตอรอลชนิดดี
หรือ HDL คอเลสเตอรอล (High Density Lipoprotein: HDL) เป็นสารไขมันที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยน กับ LDL คอเลสเตอรอล รวมถึงกรดไขมัน เพื่อนำไปทำลายที่ตับ รวมถึงช่วยลดการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดอีกด้วย ซึ่งจะพบเจอมากใน ไขมันเนื้อปลา ไข่ และ อะโวคาโดเป็นต้น
ไตรกลีเซอไรด์
คือไขมันที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกายโดยตับซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำหรับเซลล์บางชนิด โดยปริมาณของไตรกลีเซอไรด์นั้นขึ้นอยู่กับการบริโภคโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มีไขมัน หรือ มีน้ำตาล ถ้าหากมีไตรกลีเซอร์ไรด์สะสมเกินค่ามาตรฐานก็จะถูกสะสมตามอวัยวะต่างๆ นำไปสู่โรคไขมันพอกตับ โรคอ้วน โรคหัวใจได้
คอเลสเตอรอลกับโรคหลอดเลือด
ถึงแม้ว่าคอเลสเตอรอลจะเป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆภายในร่างกาย รวมถึงเป็นตัวช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด แต่การที่มีระดับคอเลสเตอรอลที่มากเกินไปโดยเฉพาะ LDL คอเลสเตอรอล ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้
หลอดเลือดตีบ
เกิดจากปริมาณของ LDL คอเลสเตอรอลที่จับตัวอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดจำนวนมาก ทำผนังหลอดเลือดเกินความหนาจากชั้นของคราบไขมัน ทำให้ทางเดินภายในหลอดเลือดมีขนาดตีบลงส่งผลให้เลือดไหวเวียนไม่สะดวก
หลอดเลือดอุดตัน
คราบไขมันกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด และเมื่อร่างกายส่งเม็ดเลือดขาวมาเพื่อทำลายคราบไขมันส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณหลอดเลือด เมื่อเกิดแผลอักเสบก็จะกักเก็บเกล็ดเลือดจนกลายเป็นลิ่มเลือดและทำให้เกิดการอุดตันขวางเส้นทางไหลเวียนของเลือดนั่นเอง
วิธีการตรวจคอเลสเตอรอล
วิธีการโดยทั่วไปสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจคอเลสเตอรอลในเลือด งดอาหารก่อนที่จะตรวจ 8-10 ชั่วโมง เก็บตัวอย่างเลือดและส่งห้องทดลอง ซึ่งการตรวจไขมันได้เลือดนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และควรตรวจอย่างน้อยทุกๆ 1-2 ปี
คอเลสเตอรอลระดับปรกติ
ไขมันคอลเลสตอรอลชนิดดี (HDL) อยู่ที่ 60 Ml/dL.
ไขมันคอลเลสตอรอลชนิดเลว (LDL) อยู่ที่ 60-130 Ml/dL.
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) อยู่ที่ น้อยกว่า 60 Ml/dL.
ปริมาณไขมันทั้งหมด อยู่ที่ น้อยกว่า 200 Ml/dL.
คอเลสเตอรอลระดับที่เสี่ยงต่อสุขภาพ
ไขมันคอลเลสตอรอลชนิดดี (HDL) อยู่ที่ น้อยกว่า 35 Ml/dL.
ไขมันคอลเลสตอรอลชนิดเลว (LDL) อยู่ที่ 160-189 Ml/dL.
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) อยู่ที่ 200-499 Ml/dL.
ปริมาณไขมันทั้งหมด อยู่ที่ 240 Ml/dL.
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
จริงๆ แล้วมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงแต่ปัจจัยหลักๆก็คือเรื่องของอาหารการกิน โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) อยู่เป็นประจำและต่อเนื่อง เช่น ชีส มาการ์รีน รวมถึงการบริโภคอาหารสำเร็จรูปที่มี ไขมันทรานส์ สูง รวมถึงการไม่ออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
วิธีการลดคอเลสเตอรอลด้วยตัวเอง
เนื่องจากปริมาณของคอเลสเตอรอลนั้นแปรผันตามอาหารการกินเพราะฉะนั้นแล้ว วิธีการควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลที่ร่างกายได้รับนั้นก็ไม่พ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั่นเอง ซึ่งนอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารการกินแล้วยังต้องปรับพฤติกรรมด้านอื่นๆด้วย
ปรับเมนูอาหาร
จำกัดอาการที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเช่น เนื้อแดง เนื้อติดมัน รวมถึงอาหารแปรรูปเช่น ไส้กรอก แฮมเนยชีส รวมทั้งหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ ที่มีส่วนประกอบของ มาการ์รีน ครีมเทียม เช่น โดนัท เพิ่มอาหารที่มี กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดจากเนื้อปลา เพิ่มใยอาหารจากผัดเพื่อช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด
เสริมด้วยการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานให้กับร่างกายแล้ว ยังมีส่วนในการกระตุ้นการผลิตไขมันดี (HDL) ที่ทำหน้าที่ขนส่งไขมันไปกำจัดที่ตับอีกด้วย ซึ่งการออกกำลังกายนั้นควรออกกำลังอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์นั่นเอง
จัดการความเครียด
เมื่อร่างกายได้รับความเครียดร่างกายจะผลิตฮอร์โมน คอร์ติซอล (Cortisol) เพื่อมาต่อสู้กับความเครียด ซึ่งส่งผลกระทบให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลชนิด LDL เพิ่มขึ้นด้วยเพราะฉะนั้นแล้วการจัดการความเครียด เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลไม่ดีในเลือดได้ดีขึ้นนั่นเอง
ข้อเสนอสุดพิเศษ
เปลี่ยนพฤติกรรมช่วยป้องกันการเกิดสโตรก
จะเห็นได้ว่าประเด็นสำคัญของการลดคอเลสเตอรอลนั้นอยู่ที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเปลี่ยนจากอาหารไขมันสูง เป็นอาหารที่มีไขมันดี รวมถึงเพิ่มอาหารประเภทผัก และ ผลไม้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับไขมันและน้ำตาล รวมถึงการออกกำลังกาย และ การบริหารความเครียด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสารมารถกำจัดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน เพื่อลดการจับตัวของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด เพียงเท่านี้ก็ช่วยป้องกันการเกิดสโตรกได้ไม่มากก็น้อย
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
VTAL ช่วยลดป้องกันการเกิดหลอดเลือดตีบ แตก ตัน
ด้วยสารสกัด เรสเวอราทรอล จากซูปเปอร์เบอร์รี่ 8 ชนิด ซึ่งช่วยบรรเทาการอักเสบของหลอดเลือด ช่วยลดการจับตัวของไขมันชนิด LDL ช่วยให้นอนหลับง่ายและยังช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย รสชาติหวานดื่มง่าย สามารถดื่มได้ทุกเพศทุกวัย เรียกว่าช่วยป้องกันการเกิดอาการ หลอดเลือด ตีบ แตก ตัน ได้เป็นอย่างดี