รู้ทันโฆษณาอาหารเสริม ตอนที่ 2 มาตรฐาน และการรับรอง

รู้ทันโฆษณาอาหารเสริม

สินค้าอาหารเสริม มักจะกล่าวอ้างว่าผ่านมาตรฐาน หลายอย่างเพื่อสื่อสารถึงความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานที่เชื่อถือได้ตั้งเกณฑ์ไว้  ที่มักกล่าวอ้างเป็นประจำคือ มาตรฐาน อย. หรือ การตรวจสอบจากองค์การอาหารและยา โดย การขอเลขที่ อย. นั้นคือการแจ้งส่วนผสมและ ปริมาณ ต่อองค์การอาหารและยา เพื่อแสดงให้เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ของ องค์การอาหารและยา ของประเทศไทย โดยการอนุมัตินี้เป็นการอนุมัติส่วนผสมตามที่แจ้ง ไม่มีการส่งตัวอย่างสินค้าเข้าตรวจสอบแต่อย่างใด มาตรฐาน อย. จึงใช้พิจารณาได้ในเบื้องต้นเท่านัน้ ว่าสินค้ามีการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาจริง แต่ความถูกต้องในการผลิตนั้นยังต้องใช้มาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางโรงงานผู้ผลิต มาพิจารณาประกอบด้วย

 

มาดูมาตรฐาน ฝั่งโรงงานผู้ผลิต กันบ้าง ตัวอย่างมาตรฐานเหล่านี้ เช่น มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) มีทั้งของ ไทย และ  มาตรฐานสากล เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการผลิตอาหาร ด้านสุขลักษณะ การป้องกันการปนเปื้อน โดย GMP ไทย นั้น ผู้ผลิตอาหาร บางประเภท จะโดนบังคับให้ต้องมีมาตรฐานเหล่านี้  และ ตรวจสอบโดย องค์การอาหารและยา ส่วนของ GMP สากล หรือ GMP Codex หรือ GHP  (Good Hygiene Practice)   จะมีบริษัทเอกชนรับอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งมาตรฐานนี้ถูกยอมรับในต่างประเทศ โรงงานที่ต้องการส่งสินค้าไปต่างประเทศจำเป็นต้องมีมาตรฐานนี้ด้วย ยังมีมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร เช่น HACCP , FSSC 22000 อย่างไรก็ตาม มาตรฐาน เหล่านี้เป็นมาตรฐานของโรงงาน การแสดงข้อความแจ้งบนฉลาก ต้องไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการรับรองผลิตภัณฑ์

 

ในส่วนของวัตถุดิบ มีมาตรฐาน หรือการรับรอง ที่มักพบบ่อย คือ การระบุว่าเป็นสินค้าออแกนิกส์  หมายถึง สินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบ ธรรมชาติ ที่ไม่ดัดแปลงพันธุกรรม หรือใช้สารเคมีในการปลูก หรือ สกัด และ กระบวนการผลิต ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ในประเทศสหรัฐ อเมริกา การจะเรียกว่าเป็นสินค้าออแกนิกส์ได้ จะต้องมีส่วนผสมที่ได้รับการรับรองไม่ต่ำกว่า 95%  สำหรับในประเทศไทย มีสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรอง

 

จะเห็นว่า มาตรฐานและการรับรองต่าง ๆนั้น ไม่ได้เป็นการรับรองผลิตภัณฑ์ โดยตรง หากเจ้าของสินค้าต้องการรับรองตัวสินค้าโดยตรง จะต้องส่งสินค้าไปตรวจสอบโดยหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ห้องปฎิบัติการเอกชน หรือ ห้องปฎิบัติการของ มหาวิทยาลัย และมีเอกสารับรอง ลงนามโดยนักวิจัย ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายสินค้า ที่ส่งสินค้าไปทดสอบหาค่าต่าง ๆ ของสารออกฤทธิ์ เพื่อเสนอเป็นข้อมูลให้ ลูกค้าได้พิจารณา  

 

หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่าน ได้มีแนวทางในการพิจารณาเลือกซื้ออาหารเสริมได้อย่างมั่นใจมากขึ้นนะคะ

ในการดูเว็บไซต์นี้ คุณอนุญาตให้ใช้คุ๊กกี้ เพื่อมอบประสบการณ์ และข้อเสนอที่เหมาะสมสำหรับคุณ (คุ๊กกี้จะไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ หรือเบอร์โทร) This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.