5 สัญญาณ การขาดโปรตีนในผู้สูงอายุ สังเกตก่อนสาย

หน้าที่ของโปรตีน

 
โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกาย เซลล์ทุกประเภท ทั้งโครงสร้าง กล้ามเนื้อ ผิว และต่อมที่ผลิตฮอร์โมน โปรตีนจะกลายเป็นกรดอะมิโน และเข้าไปทำงานในร่างกาย โดยมี กรดอะมิโน 9 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ เรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น ที่ร่างกายจะหาได้จากอาหารที่เราทานเข้าไป การทานโปรตีนควรทานจากแหล่งที่หลากหลาย เพื่อให้แน่ใจว่า ร่างกายจะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน 

ความต้องการโปรตีนในช่วงสูงอายุ (50+)

แม้ว่าในช่วงอายุนี้ เราจะไม่มีการเติบโตเพิ่มเติม แต่เพื่อการรักษามวลกล้ามเนื้อไว้ ร่างกายจึงต้องการโปรตีนจำนวนมาก อีกทั้งการนำโปรตีนไปใช้งาน อาจจะทำได้ไม่ดีเหมือนช่วงวัยก่อนหน้านี้ กล่าวคือ แม้จะทานโปรตีนในปริมาณเท่ากัน เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายกลับดึงโปรตีนไปใช้งานได้น้อยลง การทานโปรตีนจึงควรแบ่งทานโปรตีนไปตลอดทั้งวัน ดีกว่าการทานมาก ๆ ในคราวเดียว เพื่อให้ร่างกายสามารถนำโปรตีนไปใช้งานได้ดีที่สุด
 
โดยทั่วไป ผู้สูงอายุ ต้องการโปรตีน 1-1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกเว้นผู้ป่วยโรคไต โรคตับ ผู้ที่อยู่ในความดูแลของแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแนะนำปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม นอกจากนี้ความต้องการโปรตีนยัง ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกาย น้ำหนัก และกิจกรรมที่ทำอีกด้วย
 
การบริโภคโปรตีน ในช่วงสูงวัย ที่อาจจะมีโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือด เบาหวาน ความดัน ควรระมัดระวังการทานโปรตีนจากแหล่งที่มีไขมันสูง 

แหล่งโปรตีนสำหรับผู้สูงอายุ

จริงๆแล้วแหล่งโปรตีนในธรรมชาตินั้นสารมารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ กันก็คือ โปรตีนจากพืช และ เนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างหายเหมือกันเพียงแต่แหล่งที่มาแตกต่างกัน และสำหรับผู้สูงอายุแล้วอาจจะได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่ลดลง เนื่องจากรับประทานลำบาก นั่นเอง เราขอยกตัวอย่างแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ

โปรตีนจากเนื้อสัตว์

เรียกว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ให้พลังงานสูงไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว แต่ก็มาพร้อมกับ ไขมันและคอเรสเตอรอล ดังนั้นสำหรับผู้สูงอายุแล้วยังสามารถรับประทานได้เพียงแต่ต้องเลือกในส่วนที่ไม่ติดมัน โดยเสื้อสัตว์ 85 กรัม จะได้โปรตีนประมาณ 22 กรัม แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วเนื้อปลาเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่าเพราะมีไขมันต่ำ ลักษณ์ของเนื้อนุ่มนิ่มเคี้ยวง่าย ถึงแม่ว่าจะมีโปรตีนไม่เท่าเนื้อชนิดอื่นแต่มีประโยชน์ที่หลากลาย

โปรตีนจากพืช

อีกหนึ่งแหล่งอาการที่ช่วยให้คุณได้รับโปรตีนที่เพียงพอในแต่ละวันนั่นก็คือ พืช ผัก นอกจากจะมีโปรตีนแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉฑาะถั่วชนิดต่างๆ ที่มีปริมาณโปรตีนประมาณ 15 กรัมต่อถ้วย ถึงแม้จะเป็นโปรตีนจากพืชก็ไมควรทานเยอะจนเกินไป เพราะพืชบางชนิดเช่น ถั่วดำ ถั่วแดง ก็มีแคลรอลรี่สูงเช่นเดียวกัน

5 สัญญาณเตือน เมื่อร่างกายขาดโปรตีน

1. ติดเชื้อง่าย ป่วยง่าย
โปรตีนมีกรดอะมิโน หลายชนิด ที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยสร้าง แอนติบอดี้ เพื่อต่อสู้กับ เชื้อโรค แบคทีเรีย หากทานโปรตีนไม่เพียงพอ จะทำให้ ระบบภูมิคุ้มกัน ทำงานช้ากว่าการติดเชื้อ ร่างกายก็จะป่วยได้ง่าย 
 
2. แผลหายช้า
โปรตีนมีส่วนสำคัญในการ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยในการสร้างผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อใหม่ เมื่อมีการบาดเจ็บ หรือหลังผ่าตัด หากโปรตีนไม่เพียงพอ จะทำให้การสร้างซ่อมแซมร่างกายลดลง เนื้อเยื่องอกใหม่ช้าลง การบาดเจ็บจะหายได้ช้า 
 
3. เหนื่อยง่าย เครียดง่าย
โปรตีน มีกรดอะมิโนหลายชนิด ที่ช่วยสร้างสารสื่อนำประสาท และ ดูแลการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยให้อารมณ์ปลอดโปร่ง ลดความเหนื่อยล้า 
 
4. ผิวแห้ง ผมร่วง
โปรตีน เป็นส่วนสำคัญในการสร้าง คอลลาเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผิวหนัง ผม เล็บ หากโปรตีนไม่เพียงพอ คอลลาเจนลด จะส่งผลให้ผิวแห้ง ขาดความยืดหยุ่น ผมเล็บ เปราะ ผมร่วง
 
5. หิวบ่อย
โปรตีน มีส่วนสำคัญในการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึง ฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม ระงับความหิว (Peptide YY & Cholecystokinin) ทำให้เมื่อเราทานโปรตีนแล้ว จะรู้สึกอิ่ม นานกว่าการทานคาร์บ จาก ผัก ผลไม้
 
ผู้สูงวัย ที่ได้รับโปรตีนเพียงพอจะสามารถ ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างกระฉับกระเฉง อารมณ์แจ่มใส การวางแผนการทานโปรตีนให้เพียงพอในแต่ละวันจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ควรทานอาหาร ที่หลากหลาย และ ครบทั้ง 5 หมู่ 
 

ทำไมถึงต้องระวังการขาดโปรตีนในผู้สูงอายุ

  • การขาดโปรตีนในผุ้สูงอายุ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลง ภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงสภาพร่างกายแย่ลงได้
  • จากการทดลองเมื่อผู้สุงอายุได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้กีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และ ช่วยทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้้น
  • ผู้สูงอายุต้องการโปรตีนในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อการดูแลบสุขภาพของกล้ามเนื้อให้สามารถทำงานได้อย่างปรกตินั่นเอง

วิธีการป้องกันการขาดโปรตีนในผู้สูงอายุ

  1. ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 30 นาทีต่อ 5 วัน/สัปดาห์
  2. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง 1-1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว1 กิโลกรมต่อวัน
  3. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  4. งดการสูบบุหรี่ และ การดื่มแอลกอฮอล์

POW Daily อาการเสริมที่ช่วยลดการขาดโปรตีนในผู้สูงอายุ

โปรตีนจากพืช ( Plant Based Protein ) ด้วยโปรตีนจากธัญพืช 5 ชนิดช่วยเสริมโปรตีนพร้อมดูแลรูปร่าง เพราะไม่มี แคลอรี ส่วนเกิน รสฟรุ๊ตตี้ โคโคนัท ละลายน้ำง่าย ไม่ฝืดคอ มีพรีไบโอติก และ แคลเซียม 1 ซอง 24 กรัม มีปริมาณโปรตีนถึง 15 กรัม ให้พลังงานเพียง 90 แคลลอรี

ป้องกันการขาดโปรตีนสำหรับผู้สูงอายุได้ง่ายๆ

สำหรับการขาดโปรตีนในผู้สูงอายุนั้นเราสามารถสังเกตอาการง่ายๆ ตั้งแต่ ติดเชื้อง่าย เหนื่อยง่าย เครียดง่าย ผมร่วง หิวบ่อย เพราะฉะนั้นแล้วการเสริมโรตีนสำหรับผู้สุงอายุยังความจำเป็น สำหรับผู้สูงอายุแล้วการได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แบะ พืชผัก อาจทำได้น้อยลง ด้วยความเสื่อมถอยของร่างกาย รวมถึงข้อจำกัดในการเลือกรับโปรตีนเข้าสู่ร่างกายนั่นเอง แต่สามารถป้องกันการขาดโปรตีนในผู้สูงอายุได้ด้วย การออกกำลังกาย งดสูบบุหรีและแอกอฮฮล์ รวมถึงการไ้ดรับโปรตีนอย่างเพียงพอ ด้วยโปรตีนที่ผลิตจากพืชอย่าง Pow Up Daily ที่กินงานและอุดมไปด้วยธัญพืชหลากหลายชนิด เพียงเท่านี้ก็ช่วนลดความเสียการขาดโปรตีนในผู้สูงอายุได้ ไม่มากไม่น้อยเลยทีเดียว