ความดันสูง อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นการเกิด สโตรก หรือ หลอดเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังทั้งการเกิดความดันสูงและการเกิดสโตรก เนื่องจากมักจะไม่มีสัญญาณเตือนเมื่อเกิดอาการ ซึ่งการระมัดระวังและป้องกันอาการสโตรกนั้นทำได้หลายวิธี การที่ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง และช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นสโตรกได้ นอกจากนั้นแล้วยังมีวิธีการป้องกันการเป็นสโตรกด้วยวิธีการอื่นๆ อีก วันนี้เราหยิบยกตัวอย่างมาฝากกันครับ
โรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร
การที่เลือดสามารถไปเลี้ยงส่วนต่างขอร่างกายนั้นจำเป็นต้องใช้แรงในการผลักดันไปตามหลอดเลือดเพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย แต่ถ้าแรงดันในหลอดเลือดนั้นสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ย่อมส่งผลกับร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเกิดมาจากหลายสาเหตุ
ความดันโลหิตสูง
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ความดันสูงแบบไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุโดยใช้เกณฑ์ การวัดความดันได้ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง ส่วนความดันสูงแบบทราบสาเหตุนั้นใช้ค่าความดันเดียวกัน แต่พบได้น้อยสาเหตุเกิดจาก ความผิดปรกติของต่อมหมวกไต ความผิดปรกติของฮอร์โมน รวมถึง ความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ
ความดันโลหิตต่ำ
เป็นการใช้เกณฑ์ความดันต่ำกว่า 90/60 ซึ่งความดันต่ำนั้นทำให้เลือดไหลเวียนช้าและไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการ หน้ามืดเป็นลม ตาพร่า ใจสั่น อาจจะทำให้เกิดอาการช็อกได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันต่ำนั้นมีหลายปัจจัยเช่น การเสียเลือด การขาดน้ำ การแพ้อาหารอย่างรุนแรง รวมถึง การใช้ยาบางชนิด เช่นยาขับปัสสาวะ หรือ ยากต้านเศร้าเป็นต้น
ความเกี่ยวพันธ์ระหว่างความดันและสโตรก
เมื่อความดันในเลือดสูงทำให้เลือดไหลแรงส่งผลให้ผนังหลอดเลือดอักเสบและเป็นแผลได้ง่าย เมื่อเป็นแผลง่าย ทำให้โอกาสที่ไขมันจะเข้าไปเกาะตามผนังหลอดเลือดได้ง่ายทำให้หลอดเลือดหนาขึ้น และเส้นทางการไหลเวียนของเลือดแคบลง ทำให้เกิดอาการหลอดเลือดตีบในที่สุด
นอกจากนั้นเมื่อความดันสูงทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ ทำให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มเลือดเป็นจำนวนมากและไปขัดขวางการนำส่งเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ หรือที่เรียกว่าหลอดเลือดตันนั้นเอง
สุดท้าย เมื่อเกินความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอและฉีกขาดได้ง่าย ทำให้เกิดอาการหลอดเลือดสมองแตก หรือ โรคสโตรก นั่นเอง ซึ่งเมื่อเกิดสโตรกขึ้นแล้ว จะส่งผลให้เกิดอัมพาต แขนขาอ่อนแรง และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
การป้องกันความดันโลหิตสูงด้วยตัวเอง
การรับประทานอาหาร
เรียกว่าเป็นกิจวัตรประจำวันที่เราสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายเพื่อลดการเกิดความดันโลหิตสูง ด้วยการเปลี่ยนแปลงเมนูอาหารให้แต่ละมื้อด้วยการ ลดอาหารที่มีไขมันสูง ไขมันอิ่มตัว อาหารที่มีโซเดียมสูง เพิ่มโปรตีนจากพืชและ ไฟเบอร์จากผัก รวมถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อรักษาระดับความดันให้อยู่ในสภาวะปรกติ
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนอกจากจะเป็นการเพิ่มการเผาผลาญให้กับร่างกาย แล้วยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด การออกกำลังกายแบบคาดิโอช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อออกกำลังกายพร้อมกับการควบคุมอาหาร นอกจากจะช่วยให้ความดันอยู่ในระดับปกติแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอีกด้วย
งดแอลกอฮอล์และบุหรี่
เนื่องจากเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ร่างกายหลังฮอร์โมนบางชนิดทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวและถ้าบริโภคอย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติทำให้หลอดเลือดหดตัวและความดันโลหิตสูงขึ้น และ สารนิโคติน และ คาร์บอนมอนอกไซด์ในบุหรี่ จะไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว เนื่องจากสารในบุหรี่ไปทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นนั่นเอง
การจัดการความเครียด
อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงได้นั่นก็คือความเครียด เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีน และ คอร์ติซอลซึ่งทำให้หัวใจเต้นเร็ว และส่งผลให้ความดันสูงได้ชั่วคราว เพราะฉะนั้นแล้วควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม รวมถึงปัจจัยที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดความเครียด หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็หาวิธีการลดความเครียดให้ได้โดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูง
ข้อเสนอสุดพิเศษ
VTAL เครื่องดื่มซูเปอร์เบอร์รี 8 ชนิด
นอกจากการดูแลตัวเองให้ดีแล้วถ้าเราสามารถเสริมการป้องกันด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร VTAL เครื่องดื่มซูเปอร์เบอร์รีสกัดหลายชนิดเช่น แครนเบอร์รี, อะเซโรล่าเชอร์รี, บลูเบอร์รี, แบล็คเบอร์รี่, สตรอว์เบอร์รี่, แบ็คเคอร์แรนด์ และ เก๋ากี้ ซึ่งมี เรสเวอราทรอล และ แอนโทไซยานิน ที่มีผลทดสอบว่ามีส่วนช่วยในการลดการอักเสบของหลอดเลือด และช่วยป้องกันการเกิดสโตรกได้อีกด้วย