ซัลโฟราเฟนเป็นสารประกอบจากพืชธรรมชาติที่พบในผักตระกูลกะหล่ำหลายชนิด เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และคะน้า ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก
ในปี 2010 มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศเรื่องผักที่ทานแล้วทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ได้แก่ผักตระกูลกะหล่ำ บรอกโคลี คะน้าใบหยัก หากทานครึ่งถ้วยต่อมื้อมากกว่า 2 มื้อต่อเดือน สามารถลดความเสี่ยงได้ถึง 55% นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในกลุ่มอื่น ๆ อีกมากมายทั้ง กลุ่มมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมไปถึงลดความเสี่ยงเรื่องหลอดเลือดหัวใจ จึงมีการศึกษาลึกลงไปว่าในผักกลุ่มนี้ทำไมถึงให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจขนาดนี้
โดยพบว่า ซัลโฟราเฟน มีส่วนช่วยกระตุ้น โปรตีน Nrf2 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้เกิดการต้านอนุมูลอิสระในเซลล์ ทำให้ลดความเสียหายของเซลล์ ลดการเสื่อมของเซลล์
กระบวนการนี้ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากความเสื่อมต่าง ๆ เช่น อัลไซเมอร์ เบาหวาน หัวใจ และ ลดโอกาสที่เซลล์จะเสียหายเรื้อรัง จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ปกติเป็น เซลล์ที่ผิดปกติได้ การกระตุ้น โปรตีน Nrf2 ของ ซัลโฟราเฟน จึงช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบว่า ซัลโฟราเฟน ช่วยกระตุ้นกระบวนการ อะพอพโตซิส (Apoptosis) หรือการทำลายตัวเองในเซลล์ที่มีขนาดใหญ่
ทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ เอนไซม์กลุ่มที่ช่วยในการดีท็อกซ์ สารคาซิโนเจนหรือ สารก่อนมะเร็งต่าง ๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่ในอนาคต อาจจะสามารถใช้ ซัลโฟราเฟนในการรักษามะเร็งได้
แม้ซัลโฟราเฟน จะอยู่ในพืช แต่ก็จะออกฤทธิ์ เมื่อ กลูโคราฟานิน (glucoraphanin) สารอีกชนิดนึงในพืช สัมผัสกับไมโรซิเนส (myrosinase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ในตระกูลที่มีบทบาทในการตอบสนองต่อการป้องกันของพืช และ เอนไซม์นี้ จะถูกปล่อยออกมาเมื่อพืชได้รับความเสียหายเท่านั้น ดังนั้นผักตระกูลกะหล่ำจึงต้องหั่น สับ หรือเคี้ยวเพื่อปล่อยไมโรซิเนสและกระตุ้นซัลโฟราเฟนออกฤทธิ์ได้
น่าเสียดายที่สารซัลโฟราเฟนเอง จะถูกทำให้หมดประสิทธิภาพลงเมื่อเจอเข้ากับความร้อน หากต้องการได้คุณประโยชน์อย่างเต็มที่ต้องทานผักตระกูลกะหล่ำเหล่านี้ตอนที่ยังเป็นต้นอ่อนโดยไม่ผ่านความร้อนอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
Sulforaphane Induced Apoptosis via Promotion of Mitochondrial Fusion and ERK1/2-Mediated 26S Proteasome Degradation of Novel Pro-survival Bim and Upregulation of Bax in Human Non-Small Cell Lung Cancer Cells
Yang Geng, Yan Zhou, Sai Wu,Yabin Hu, Kai Lin, Yalin Wang, Zhongnan Zheng, and Wei Wu
—————
Cruciferous vegetable consumption is associated with a reduced risk of total and cardiovascular disease mortality
Xianglan Zhang,corresponding author Xiao-Ou Shu, Yong-Bing Xiang, Gong Yang, Honglan Li, Jing Gao, Hui Cai, Yu-Tang Gao, and Wei Zheng
—————
Cruciferous vegetable intake is inversely associated with lung cancer risk among smokers: a case-control study
Li Tang,corresponding author Gary R Zirpoli, Vijayvel Jayaprakash, Mary E Reid, Susan E McCann, Chukwumere E Nwogu, Yuesheng Zhang, Christine B Ambrosone, and Kirsten B Moysich