ไขมันในเลือดสูง ภัยเงียบ ที่กว่าจะแสดงอาการก็สายเสียแล้ว 

ไขมันในเลือดสูง
การที่จะทราบว่าระดับไขมันในเลือด อยู่ในระดับที่ต้องจัดการหรือไม่ คือ ต้องทำการตรวจเลือดเท่านั้น โดยระหว่างที่ไขมันกำลังค่อย ๆ สะสมสูงขึ้น และเรายังคงทานอาหารไขมันสูงอย่างมีความสุข แม้ว่า หลอดเลือดจะมีไขมันเกาะอยู่อย่างหนาแน่น ก็แทบจะไม่แสดงอาการอะไรเลย จนกระทั่ง หลอดเลือดอุดตันโดยสิ้นเชิง หรือถูกดันจนแตกเท่านั้น เมื่อถึงเวลานั้นโอกาสที่จะเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีมีน้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเส้นเลือดที่มีปัญหามักจะไปอยู่ที่ สมอง หรือ หัวใจ
 

ภาวะไขมันในเลือดสูงเกิดได้จากหลายสาเหตุ

เช่นการทานอาหาร ที่มีไขมันสูง ของทอด อาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่นเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง นม เนย ชีส การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา อายุที่มากขึ้น น้ำหนักเกินจากการสะสมไขมัน การทานยาบางชนิด  การผิดปกติของไต  และ กรรมพันธ์ การตรวจร่างกายเป็นประจำ จะช่วยให้ตรวจพบภาวะไขมันในเลือดสูงได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ และดูแลสุขภาพ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคที่จะเกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูงได้ 

จะดีกว่าไหม หากเราดูแลระดับไขมัน ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยอยู่เสมอ โดยเริ่มดูแลตัวเอง และ คนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ อย่ารอให้สายเกินไป

 

ไขมันในเลือดมีอะไรบ้าง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

 เป็นไขมันที่ส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะ เซลล์สมอง แต่หากคอเลสเตอรอลสูงเกินไป  จะเกิดการสะสมอยู่ในหลอดเลือด โดยปกติค่าคอเลสเตอรอลรวมไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร
 
  • High-Density Lipoprotein (HDL) เป็นไขมันชนิดดี มีความหนาแน่นสูง ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลออกไปทำลายที่ตับ ลดโอกาสเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง การเพิ่ม HDL สามารถทำได้โดยการออกำลังกาย ระดับ HDL ควรมีมากกว่า 50 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร
  • Low density lipoprotein (LDL) เป็นไขมันชนิดที่เซลล์จะนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่ถ้าไม่ถูกใช้งาน จะสะสมอยู่ในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและตีบตันได้ ระดับของ LDL ไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น มาจากการทานแป้งและน้ำตาล ร่างกายใช้ไตรกลีเซอไรด์ เพื่อเป็นพลังงาน และช่วดูดซึมวิตามินต่าง ๆ  แต่ถ้ามีมากเกินไป ถือเป็นค่าที่ใช้บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  ไตรกรีเซอร์ไรด์ในเลือด ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร 

ไขมันในเลือดสูงแล้วจะเป็นอย่างไร 

หลอดเลือดเป็นท่อนำส่งสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย หากมีไขมันเลว เกาะตามผนังหลอดเลือด จะทำให้การลำเลียงสารอาหารไม่สะดวก เลือดจะข้นขึ้นและมีโอกาสเป็นลิ่มเลือดได้ เมื่อลิ่มเลือดไหลเวียนไปในจุดที่แคบจนเกิดเส้นเลือดอุดตันในบริเวณใด บริเวณนั้นก็จะขาดเลือด ทำให้เกิดความเสี่ยงดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก (Stroke) การขาดเลือดเพียงไม่กี่นาที ก็จะทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน เกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรง ปลายเท้า หน้าเบี้ยว ปวดหัว
  • โรคหัวใจขาดเลือด นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายหรือตายบางส่วน มีอาการแน่นหน้าอก เหงื่อออกมา หัวใจเต้นแรง หน้ามืด
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ มักเกิดในบริเวณขา โดยพบอาการปวดขาเฉียบพลัน แม้ว่าจะไม่มีการออกแรง คลำชีพจรไม่ได้ หากปล่อยทิ้งไว้ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำและเน่า

ทำอย่างไรให้ห่างไกลภาวะไขมันในเลือดสูง 

  • ไม่สูบบุหรี่  ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ มากเกินไป
  • ทานอาหารที่มีไขมันดี และ ทานให้เพียงพอต่อการใช้พลังงาน 
  • ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ ผู้ที่ผอม ก็อาจจะมีภาวะไขมันในเลือดสูงได้ แต่ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ จะมีความเสี่ยงมากกว่า
  • การออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะช่วยให้ร่างกายนำไขมันมาใช้ โดยออกกำลังกายหนักปานกลาง นานกว่า 30 นาที 
  • ความเครียดทำให้ ไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน หาแนวทางผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงความเครียด
  • และ ตรวจสุขภาพเป็นระยะ เพื่อทราบสภาพร่างกายและเตรียมรับมือก่อนจะสายเกินไป
อย่าลืมว่า สุขภาพของเราจะเป็นอย่างไร อยู่ที่การเลือกปฎิบัติตัวของเราเอง ทางร้านขอให้ทุกท่านแข็งแรงสดใส ทั้งสุขภาพกายและใจนะคะ 

ข้อแนะนำในการเลือกอาหารสำหรับคนที่ไขมันในเลือดสูง

  • เลือกอาหารที่มีไขมันน้อย และวิธีการเปลี่ยนวิธีการปรุงเป็น ต้น ตุ้น นึง อบ
  • เลือกใช้น้ำมันพืชไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว
  • เน้นการกิน เต้าหู้ และ ปลา โดยเฉพาะปลาทะเล
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเคอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก เนื้อติดมัน เป็นต้น
  • ควบคุมปริมาณการรับประทานกลุ่ม ข้าว-แป้ง และควรกินข้าวก่อน 18:00
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานหรือมีน้ำตาลสูง
ไขมันในเลือด

ผลิตภัณฑ์ช่วยลดความเสี่ยงไขมันในเลือด

นอกจากการดูแลเรื่องอาการการกิน การออกกำลังกาย รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ก่อให้เกิดไขมันในเลือดสูงอย่างเช่น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่ดี รวมถึง การควบคุมปริมาณอาหารแล้ว ยังมีอาหารเสริมที่ช่วยควบคุมและดักจับไขมัน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยจาก ม.พะเยา ที่รวมสมุนไพรหลายชนิด สารสกัดจากสาหร่ายสไปรูลิน่า สารสกัดจากพลูคาว สารสกัดเชียงคา ภายใต้ผลิตภัณฑ์ พาว ชูการ์คิว นั่นเอง

ดูแลสุขภาพ ง่ายๆ ให้ห่างไกลจากไขมันในเลือดสูงด้วยตัวเอง

จะเห็นได้ว่า ไขมันในเลือดสูงนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะสามารถทราบได้จากการตรวจเลือดเท่านั้น โดยปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ก็คือเรื่องการดูแลสุขพาภและอาหารการกิน ซึ่งเราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดไขมันในเลือดสูงด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การเปลี่ยนจากอาหารทอดมาเป็น ตุ๋น ต้ม นึ่งแทน เลือกบริโภคอาหารที่มีคอเรสเตอรอลน้อย รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 30 นาที ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไขมันในเลือดสูงได้เป็นอย่างดี และอย่าลืมผลิตภัณฑ์เสริม POW Zugar Q อาหารที่ช่วย ดักจับไขมันและน้ำตาล ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไขมันในเลือดสูงควบคู่ไป เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณห่างไกลจากไขมันในเลือดสูงง่ายๆ ด้วยตัวเองได้แล้ว